บทที่ 5 การดำเนินงานอาชีวอนามัยในประเทศไทย


            งานอาชีวอนามัยในประเทศไทย มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริการอาชีวอนามัย(Occupational Health Service) การดูแลสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพโดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยการป้องกันโรคและการติดต่อของโรคจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งอุบัติเหตุและอุบัติภัยจากการทำงาน หรือให้ผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิต ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติต่อไป ซึ่งการดำเนินการนั้นต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม

กระทรวงเกษตร กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกฎหมายท้องถิ่นต่างๆส่วนการบริการงานอาชีวอนามัย (Occupation Health Service)นั้นเป็นงานเกี่ยวกับการส่งเสริมและธำรงไว้ซึ่งสุขภาพอนามัยที่ดี ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสังคมของผู้ประกอบอาชีพ รวมทั้งการควบคุมป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งเกิดจากการทำงานของคนทำงานต้องสัมผัสกับสิ่งที่เป็นพิษภัยในการปฏิบัติงาน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมีความพึงพอใจในฐานะการงานที่มั่นคง มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีความปลอดภัย ได้รับสวัสดิการที่เหมาะสม ซึ่งจะมีผลต่อการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจทั้งของตนเองและประเทศชาติต่อไป

ขอบเขตของการดำเนินงานอาชีวอนามัย ประกอบด้วยงานหลัก 3 ด้าน ดังนี้

        1. การป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพ (Prevention and Controlof Occupational Disease) มีการปฏิบัติเกี่ยวกับ การควบคุมป้องกันโรคอันเนื่องมาจากการทำงาน (Occupational Disease หรือ Work Related Disease) เป็นปัญหาส่งผลกระทบในระยะยาวจากการสะสมของพิษภัยหรือโรคในระดับหนึ่งจะแสดงอาการออกมาให้เห็น (Long term effects) หรืออาจเกิดอาการเฉียบพลันถ้าหากได้รับในปริมาณที่สูง(Acute Effect)

        2. การป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุจากการประกอบอาชีพ (Prevention andcontrol of Occupational Accidents) มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ การพิการ หรือเสียชีวิตจากการท างานที่ไม่ปลอดภัยของคนงานในการประกอบอาชีพ ซึ่งส่วนมากเป็นปัญหาอย่างเฉียบพลัน ทันที(Acute หรือ Shortterm Effects) เนื่องจากมีสภาพการท างานที่ต้องเสี่ยงต่ออันตรายจากสภาพการออกแบบ

โรงงานที่ไม่ถูกต้อง การเลือกใช้เครื่องจักรที่ไม่เหมาะสมมีสภาพเก่าขาดการดูแลรักษาอุปกรณ์ไม่พร้อม การไม่สวมใส่เครื่องป้องกันและสภาพร่างกายไม่พร้อม

        3. การควบคุมป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อม (Environmental Pollution Control)มีการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยมลพิษของสถานประกอบการหรือโรงงานแหล่งผลิตอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ทำให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของบุคคลและชุมชน ทำให้เกิดความรำคาญ (Nuisances) หรือทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย พิการหรือตายได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  คำว่า  “อาชีวอนามัย”  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  “Occupational Health”  โดยมีรากฐานมาจากคำสองคำผสมผสานกัน คือ อาชีวะ  (Occupational)  หรืออาชีพ ...