การดำเนินงานอาชีวอนามัยเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายกำหนดนั้น มีขั้นตอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอนสำคัญ ดังนี้ 1. การจำแนกปัญหาและอันตราย (Problems and Hazards Identification) เป็น ขั้นตอนที่มี ความสำคัญและจำเป็นในการค้นหาปัญหาที่ทำให้เกิดอันตรายจากการทำงาน หากได้รับความร่วมมือ หรือการใช้เทคนิควิธีการที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ประกอบกับ ประสบการณ์ สัญชาติญาณของผู้ตรวจสอบ จะทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วมากขึ้น 2. การประเมินขนาดของปัญหาและอันตราย (Hazards Evaluation) เมื่อทราบข้อมูล การจำแนกปัญหาเบื้องต้นแล้ว ก็จะใช้เครื่องมือต่างๆ เข้ามาตรวจสอบเพื่อตรวจถึงขนาดของปัญหาที่แท้จริงและอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นอยู่ในระดับใดและจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นหรือไม่ 3. การเปรียบเทียบขนาดของอันตราย (Hazards Interpretation) โดยการนำข้อมูล ที่ได้จากการประเมนิ ขนาดของปัญหาและอันตรายมาเปรียบเทียบประเมินกับมาตรฐาน ที่มีอยู่ เช่น มาตรฐานทางด้านวิชาการ กฎหมาย หรือข้อเสนอแนะ จะทำให้ทราบระดับ ของความรุนแรงของปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วนในการดา เนินการต่อไป 4. การสั่งการและการควบคุม (Hazard Control) เมื่อทราบความรุนแรงของปัญหา และความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการแล้วก็จะต้องกำหนดแนวทางที่เหมาะสมมาใช้ จัดการปัญหาโดยบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องสั่งการให้มีการปรับปรุงแก้ไขอันตราย และควบคุมสภาพอันตรายต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่ปกติมากที่สุด 5. การประเมินโครงการ (Project Evaluation and Feedback) เป็นการประเมินผล ความสำเร็จของโครงการทั้งหมดที่ดำเนินไปถึงการบรรลุเป้าหมายความคุ้มค่าของการ ดำเนินงานแล้วรายงานเสนอให้ผู้บริหารรับทราบ ส่วนสุขศาสตร์อุตสาหกรรม (Industrial Hygiene) นั้นเป็นงานด้านวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ สาขาหนึ่งของงานอาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพอนามัยของ ผู้ประกอบอาชีพทั้งมวล ซึ่งประกอบไปด้วยขั้นตอนการดำเนินงานสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ 1. การตระหนักถึงอันตราย (Hazard Recognition) โดยการตระหนักถึงสิ่งคุกคาม ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น ความเครียด สภาพแวดล้อมทางเคมี ทางชีวภาพ ทางกายภาพ เช่น ความร้อน รังสี แสง เสียง รวมทั้ง กลวิธีการทำงาน 2. การประเมินขนาดของอันตราย (Hazard Evaluation) หรือปัญหาส่งผลให้เกิดอันตรายที่มีขนาดมากน้อยในระดับใด ซึ่งต้องมีการตรวจสอบแล้วนำค่าที่ได้มา เปรียบเทียบกับมาตรฐาน แล้วนำผลไปพิจารณาเพื่อสั่งการดำเนินการต่อไป 3. การควบคุมอันตราย (Hazard Control) ต้องมีการศึกษาหามาตรการและวิธีการ ที่เหมาะสมสอดคล้องในการควบคุมอันตรายที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงปัจจัย ประกอบ เช่น ความร่วมมือด้านเศรษฐศาสตร์และการลงทุน ความเป็นไปได้ การใช้เทคโนโลยีที่ เหมาะสม |
บทที่ 3 ขั้นตอนการดำเนินงานอาชีวอนามัย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
คำว่า “อาชีวอนามัย” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Occupational Health” โดยมีรากฐานมาจากคำสองคำผสมผสานกัน คือ อาชีวะ (Occupational) หรืออาชีพ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น