บทที่ 2 ความสำคัญของอาชีวอนามัย


        วิถีดำเนินชีวิตมีการประกอบอาชีพเป็นกิจกรรมสำคัญเพื่อสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งของตนเองและครอบครัวซึ่งถือได้ว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีค่ามากที่สุดในการจัดการการทำงานขององค์กรพัฒนาอาชีพและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยพัฒนาไปตามยุคสมัยจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในการอุปโภคบริโภคของประชากรทั้งในประเทศรวมทั้งเพื่อการส่งออกทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทเข้าสู่แรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้นประกอบกับการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่สูงขึ้น การผลิตที่มากขึ้นเกิดการ เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานมีการนำ เข้าวัตถุดิบและการใช้สารเคมีอันตรายโดยได้มีรายละเอียดด้านความปลอดภัยมาใช้ในการผลิตมากยิ่งขึ้น คนทำงานในโรงงาน อุตสาหกรรมเกิดการเจ็บป่วย มีอุบัติภัยอุบัติเหตุและเหตุร้ายแรงเกิด ขึ้น ส่งผลกระทบ ทั้งในระบบและภายนอก การทำงานส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมเกิดปัญหาสุขภาพเสื่อมโทรม เป็นโรคจากการประกอบอาชีพ (Occupation diseases) กันมากขึ้นถึง ขั้นทุพพลภาพและเสียชีวิต ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลทางสถิติได้จากสำนักงาน ประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ซึ่งในแต่ละปีกองทุนเงินทดแทนต้อง จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างผู้ประสบอันตรายจากการทำงานเป็นจำนวนเงินมากมายมหาศาล นับเป็นหลายร้อยล้านบาท ความสูญเสียที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลถึงการสูญเสียประชากรวัยทำ งานที่กำลังได้รับการ พัฒนาความรู้ ความสามารถและฝีมือแรงงาน สูญเสียกำลังงาน เศรษฐกิจ ส่งผลถึงการ ผลิตที่ต้องหยุดชะงัก ผลผลิตลดลง ความเสียหายที่เกิดกับเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ในการทำงาน วัตถุดิบที่เสียหาย สูญเสียเวลา เสียค่ารักษาพยาบาล เสียขวัญและกำลังใจในการ ทำงาน ก่อให้เกิดปัญหาครอบครัวและเป็นปัญหาสังคม ประเทศชาติต่อไปอย่างแน่นอน แรงงานที่ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบและองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้เรียกร้อง ให้หน่วยงานของรัฐบาลให้ตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ในการประกอบอาชีพของประชาชน ทำให้มีการพัฒนางานด้านอาชีวอนามัยมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ พ.ศ.2525-2529 จนถึง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550-2554 ซึ่งเป็นเรื่องของการ ยกระดับฝีมือแรงงานเข้าสู่มาตรฐานการทำงานรวมทั้งสถานประกอบการและแรงงานที่สามารถตรวจสอบประเมินได้อย่างเป็นธรรมและยังส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยยึดปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯทรงพระราชทานแก่ปวงชนชาวไทยเพื่อการอยู่ดีกินดีและอยู่รอดปลอดภัยท่ามกลางปัญหาภาวะเศรษฐกิจของประเทศชาตินอกจากนั้นหน่วยงานเอกชนที่เห็นถึงความสำคัญและความปลอดภัยของสุขภาพอนามัยในการประกอบอาชีพของประชาชนจึงได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมส่งเสริมความ ปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2530 เป็นต้นมา เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ด้านความปลอดภัยและ อนามัยในการทำงานโดยสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรต่างๆ ในการส่งเสริม ด้านสวัสดิการกับผู้ใช้แรงงาน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  คำว่า  “อาชีวอนามัย”  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า  “Occupational Health”  โดยมีรากฐานมาจากคำสองคำผสมผสานกัน คือ อาชีวะ  (Occupational)  หรืออาชีพ ...